เมนู

อรรถกถาอันเตวาสิกสูตรที่ 6 เป็นต้น


ในอันเตวาสิกสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนนฺเตวาสิกํ ได้แก่เว้นจากกิเลสอันอยู่ในภายใน. บทว่า
อนาจริยกํ ได้แก่เว้นจากกิเลสอันมาจากภายนอก. บทว่า อนฺตสฺส วสนฺติ
ได้แก่ ย่อมอยู่ในภายในของผู้นั้น. บทว่า เต นํ สมุทาจรนฺติ ความว่า
อกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ท่วมทับ ผู้นั้น หรือให้ผู้นั้นสำเหนียก
กิเลสเหล่านั้นชื่อว่าเป็นอาจารย์ของเขา ด้วยอรรถว่าอบรม กล่าวคือให้
สำเหนียกดังนี้ว่า จงทำเวชกรรมอย่างนี้ จงทำทูตกรรมอย่างนี้. กิเลส
เหล่านี้ ย่อมชื่อว่า เป็นอาจารย์ดังนี้. อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้อันอาจารย์
เหล่านั้นทำให้เลื่อมใส. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล. สูตรที่ 7 มี่นัยดังกล่าวแล้วแล.
จบ อรรถกถาอันเตวาสิกสูตรที 6 - 7

8. ปริยายสูตร


ว่าด้วยเหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล


[239] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุมีหรือ ที่จะให้ภิกษุอาศัย
พยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากเชื่อผู้อื่น หรือเว้นจากความชอบใจ เว้นจาก
การฟังต่อ ๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาใจ
ความตามความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระ-
องค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล เป็นผู้แนะนำ เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้ง
กะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
จักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น
พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวบัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เหตุมีอยู่ ที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากการเชื่อผู้อื่น เว้น
จากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อ ๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตาม
เหตุ เว้นจากการถือเอาว่าต้องกับความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี.
[240] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์
อรหัตตผล ฯลฯ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะและโมหะอันมีอยู่ในภายในว่าราคะ โทสะ และ
โมหะมีอยู่ในภายในของเรา ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมรูชัดซึ่งราคะ
โทสะ และโมหะอันมีอยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ใน
ภายในของเรา หรือรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มีอยู่ในภายในว่า
ราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม เหล่านี้พึงทราบด้วยการเชื่อต่อผู้อื่น พึงทราบด้วยความชอบใจ พึง

ทราบด้วยการฟังต่อ ๆ กันมา พึงทราบด้วยการนึกเดาเอาตามเหตุ หรือ
พึงทราบด้วยการถือเอาว่าต้องกับความเห็นของตนบ้างหรือหนอ. ภิกษุ
เหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้เพราะเห็นด้วย
ปัญญามิใช่หรือ.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์
อรหัตตผล เว้นจากการเชื่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟัง
ต่อ ๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาว่าต้องกับ
ความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจ
ที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[241] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสด้วย
ลิ้น ฯลฯ.
[242] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ใน
ภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือย่อมรู้ชัด
ซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มีอยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะ
ไม่มีอยู่ในภายในของเรา ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดด้วยใจแล้ว ย่อมรู้
ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะมี
อยู่ในภายในของเรา หรือย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ อันไม่มีอยู่

ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้นพึงทราบได้ด้วยการเชื่อต่อผู้อื่น ทราบได้ด้วยความ
ชอบใจ ทราบได้ด้วยการฟังต่อ ๆ กันมาทราบได้ด้วยการนึกเดาเอาตามเหตุ
หรือพึงทราบได้ด้วยการถือเอาว่าต้องกับความเห็นของตน บ้างหรือหนอ.
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์
อรหัตตผลเว้นจากการเชื่อต่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อ ๆ
กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาว่าต้องกับความ
เห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ ปริยายสูตรที่ 8

อรรถกถาปริยายสูตรที่ 8


ในปริยายสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ยํ ปริยายํ อาคมฺม ความว่า อาศัยเหตุใด. บทว่า อญฺญเตฺรว
สทฺธาย
ความว่า เว้นศรัทธา คือ ปราศจากศรัทธา. ก็ในที่นี้ บทว่า
สทฺธา ไม่ได้หมายเอาศรัทธา ที่ประจักษ์ ( เห็นด้วยตนเอง ) แต่คำว่า
ศรัทธานี้ ท่านกล่าวหมายถึงอาการเชื่อที่ฟังคนอื่นพูดว่าเขาว่าอย่างนั้นแล้ว